วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2550

dss

องค์กรกับระบบสารสนเทศ
วัตถุประสงค์
1.นักศึกษาสามารถบอกความหมายของระบบได้
2.นักศึกษาสามารถบอกความหมายและ ทราบการทำงานขององค์กร
3 นักศึกษาสามารถอธิบายการจัดโครงสร้างหน่วยประมวลผล ในองค์กร
4.นักศึกษาสามารถบอกความหมายระบบสารสนเทศ
5.นักศึกษาสามารถอธิบายชนิดของชนิดของระบบสารสนเทศ
2.1 ระบบคืออะไร
ระบบ หมายถึงสิ่งที่ประกอบขึ้นมาจากหน่วยย่อยหรือองค์ประกอบย่อย ที่จะต้องมีความสัมพันธ์และทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ภายในระบบแต่ละระบบสามารถมองเป็น ระบบย่อย (Subsystem) ได้ซึ่งระบบย่อยเหล่านี้ถือว่าเป็นระบบด้วยเช่นกัน เพราะมีองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบที่สมบูรณ์ในตัวเอง เมื่อระบบย่อยหลาย ๆ ระบบรวมกันจะทำให้เกิดระบบใหญ่ขึ้น
ถ้าพิจารณาองค์กร ในรูปแบบของระบบการเรียนของโรงเรียน ระบบดังกล่าวจะประกอบด้วยระบบย่อยคือ ฝ่ายรับสมัคร ฝ่ายทะเบียน ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบุคลากร ฝ่ายวิชาการ ฝ่าย ต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร ในแต่ละฝ่ายอาจจะมีระบบย่อยได้อีก
ประเภทของระบบ
องค์ประกอบของระบบ
ขอบเขตและสภาพแวดล้อมของระบบ
ประเภทของระบบ
ถ้าจะกล่าวถึงประเภทของระบบเราสามารถจำแนกออกเป็นหลายประเภทขึ้นกับว่า เราสนใจคุณลักษณะอะไรของระบบนั้น ๆ ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะบางประเภทของระบบที่มีคุณลักษณะที่น่าสนใจดังนี้
ระบบเปิด
ระบบเปิด (open system) คือระบบที่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลกับสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งพยายามปรับตัวเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในให้อยู่รอดได้ โดยทั่วไปแล้วองค์กรต่าง ๆ ถือว่าเป็นระบบย่อยของระบบธุรกิจทั้งหมด การทำงานขององค์กรต้องมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบธุรกิจ ซึ่งถือว่าเป็นสภาพแวดล้อมภายนอกตาม เช่นระบบ การลงทะเบียน มีความสัมพันธ์ระบบอื่น ๆ ที่อยู่ภายนอกของระบบ ตั้งแต่การรับใบลงทะเบียนจากนักศึกษา ตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียน การชำระเงินค่าลงทะเบียน การทำตารางเรียนตารางสอน
ระบบปิด
ระบบปิด (close system) คือระบบที่ไม่ต้องสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การทดลองในห้องปฏิบัติการ หรือระบบที่ทีการควบคุมการปฏิบัติต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์
องค์ประกอบของระบบ
องค์ประกอบที่สำคัญของระบบมี 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนนำเข้า (input) ส่วนกระบวนการหรือ โพรเซส (processing) ส่วนผลลัพธ์ (output) และส่วนป้อนกลับ (feed-back)
ส่วนนำเข้า คือ ทรัพยากรหรือสิ่งที่จำเป็น เพื่อนำเข้าสู่ระบบแล้วก่อให้เกิดกระบวนการขึ้น
ส่วนกระบวนการ คือ ส่วนที่ทำหน้าที่แปรสภาพ หรือประมวลผล โดยอาศัยส่วนนำเข้าของระบบไป
แปรสภาพเป็นผลลัพธ์ที่ต้อง
ส่วนผลลัพธ์ คือ ส่วนที่ต้องการจากระบบ ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของระบบ
ส่วนป้อนกลับ คือ ส่วนที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของกระบวนการ เพื่อให้การทำงานของระบบบรรลุ
เป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยนำเอาส่วนผลลัพธ์ไปเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จากนั้น
นำผลที่ได้จากการเปรียบเทียบไปปรับปรุงส่วนนำเข้าหรือกระบวนการ
ขอบเขตและสภาพแวดล้อมของระบบ (boundary and environment)

ส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในระบบเรียกว่า สภาพแวดล้อม (environment) ซึ่งขอบเขตที่แบ่งระหว่างระบบและสภาพแวดล้อมเรียกว่า ขอบเขตของระบบ (system boundary) การกำหนดขอบเขตของระบบนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญในการวิเคราะห์ระบบ ส่วนการกำหนดว่าขอบเขตของระบบนั้น ควรจะเป็นอย่างไรอาจจะขึ้นอยู่กับงานที่ต้องการ หรือขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ระบบที่สนใจ ถ้ากำหนดขอบเขตไม่ดีอาจเกิดปัญหาขึ้นภายหลังได้
ระบบ ต้องมีขอบเขต(boundary)ของระบบ เพื่อความเข้าขอบเขตของระบบ ยกตัวอย่างเช่น
ระบบร่างกายมนุษย์ มีขอบเขต คือ ส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกร่างกาย เช่น ผิวหนัง ผม เล็บ
.2 องค์กร ( Organization )
องค์กร คือ อะไร
องค์กรมีคุณลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ
- เป็นกลุ่มของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป
- มีการรวมตัวกัน เพื่อการทำงาน มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
- มุ่งมั่นให้งานนั้นสำเร็จตามเป้าหมาย
จากความหมายข้างต้น หากมององค์กรให้เป็นระบบหนึ่งได้เช่นเดียวกัน เพราะมีองค์ประกอบย่อย คือ บุคคลแต่คน มาร่วมกันทำงานเพื่อความสำเร็จในงานนั้น และมีองค์ประกอบด้านทรัพยากรอื่น ๆ ที่นำเข้ามาใช้ในการทำงาน เพื่อบรรลุความมุ่งหมาย
นักบริหารกับองค์กร
การบริหาร คือ การทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยคนอื่น ๆ ทำงานให้สำเร็จตามวัตประสงค์
ซึ่งในองค์กรมีทรัพยากรบุคคลเป็นทรัพยากรหลัก และทรัพยากรอื่น ๆ เช่นเครื่องจักร เงินทุน วัตถุดิบ สารสนเทศ เพื่อผลิตสินค้า และการบริการออกจำหน่ายและตอบสนองความพอใจให้กับผู้เกี่ยวข้องกับองค์กร
นักบริหาร หรือ ผู้บริหาร คือ บุคคลที่เป็นหัวหน้า หรือ ผู้นำ ของกลุ่มคนในองค์กร จัดการทรัพยากรขององค์กร และประสานงานการใช้ทรัพยากร เพื่อการทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร
ผู้ปฏิบัติการ คือ บุคคลที่เป็นทำงานงานนั้น เป็นงกลุ่มคนส่วนใหญ่ในองค์กร ทำหน้าจัดการทรัพยากรขององค์กร และประสานงานการใช้ทรัพยากร เพื่อการทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด เจ้าหน้าที่ฝ่ายการบัญชี เจ้าหน้าที่ฝ่ายการผลิต พนักงานงานขาย เป็นต้น
ระดับการบริหาร
ในองค์กรมีแบ่งระดับการบริหารออกเป็น 2 แนวทาง
- แนวนอน โดยแบ่งแยกตามความถนัด หรือเนื้อหางานงานเป็นสำคัญ ฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต ฝ่ายการเงินบัญชี ฝ่ายธุรการ
- แนวตั้ง โดยแบ่งตามระดับเช่น ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง ผู้บริหารระดับต้น
ในการแยกแยะระดับการบริหาร หรือการทำงานขององค์กรแบ่ง 3 ระดับ
- การบริหารระดับเทคนิค หรือ ระดับการปฏิบัติการ
- การบริหารระดับบริหาร หรือ การบริหารระดับกลาง
- การบริหารระดับสถาบัน หรือ การบริหารระดับสูง
จากระดับการบริหาร นักวิเคราะห์จะได้ทราบแนวทางในการพัฒนา เพื่อจัดสารสารเทศ ที่ผลิตออกจากระบบสารสนเทศให้เหมาะสม และเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ระบบ เพื่อการออกแบบระบบให้เหมาะสมกับงานในแต่ระดับการบริหารต่อไป
ประเภทขององค์กร
สำหรับประเภทขององค์กรนั้น นักวิเคราะห์ระบบมักจะมองรูปแบบขององค์กรเป็น 2 ประเภทได้แก่
ก. องค์กรแบบเป็นทางการ (formal organization)
คือ องค์กรที่มีการกำหนดโครงสร้างอย่างมีหลักเกณฑ์ โดยระบุความสัมพันธ์
ระหว่าง สมาชิกในองค์กรเกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ ข้อผูกพันและความรับผิดชอบ ตลอดจนการวางแผนและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อย่างชัดเจน ไม่ยืดหยุ่น
ข. องค์กรแบบไม่เป็นทางการ (informal organization)
คือ องค์กรที่จัดโครงสร้างขององค์กรไม่รัดกุม ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ไม่กำหนด
ความสัมพันธ์ของสมาชิก

ผังองค์การ

ผังองค์การ (organization chart) เป็นเครื่องมือที่ใช้แสดงให้เห็นถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดองค์การว่าแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยอะไรบ้าง แต่ละหน่วยมีความสัมพันธ์กันอย่างไร โดยแสดงในลักษณะโครงสร้างลำดับชั้น (hierachical structure)

จากความรู้เรื่องระบบ นี้ ทำให้นักวิเคราะห์ระบบ ทราบความหมาย และขอบเขตของระบบไปเพื่อเป็นพื้นฐานเรื่องวิเคราห็และออกแบบระบบสารสนเทศเทศต่อไป เพราะในองค์กร ปัจจุบัน มีการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารอย่างแพร่หลาย


2.3 การจัดโครงสร้างหน่วยประมวลผล ในองค์กร

ในทางปฏิบัติทรัพยากรที่ใช้ในการประมวลผลต่าง ๆ จะถูกนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่แตกต่างกัน เช่นข้อมูลที่เกิดในหน่วยงานหนึ่งอาจถูกนำไปใช้ในหน่วยงานอื่น ถ้าแต่ละหน่วยงาแยกการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลจากกัน จะทำให้ค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นการจัดโครงสร้างการประมวลผลจึงเป็นจุดหนึ่งที่สำคัญในระบบงาน สามารถแบ่งการจัดโครงสร้างของการประมวลผลได้ 3 วิธี

1.โครงสร้างแบบศูนย์รวม (centralized structure)
คือ โครงสร้างที่มีทรัพยากรในการประมวลผลอยู่ส่วนกลาง มีหน่วยงานอิสระหน่วยงานหนึ่งรับผิดชอบดูแลและจัดการอาจจะเรียกว่า หน่วยประมวลผลข้อมูลก็ได้ มักจะพบในกรณีที่องค์กรนั้น ๆ มี MIS อย่างสมบูรณ์ ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวจะมีอำนาจในการควบคุมและสั่งการ ลักษณะการจัดองค์กรตามโครงสร้างแบบนี้สามารถแสดงเป็นภาพได้ ดังนี้



2.โครงสร้างแบบกระจาย (distributed structure)
ทรัพยากรที่ใช้ในการประมวลผลจะอยู่ตามหน่วยงานต่าง ๆ การบริหารเป็นอิสระ
ขึ้นตรงกับผู้บริหารฝ่ายนั้น ๆ ตามรูปด้านล่าง จะพบในกรณีหน่วยงานนั้น เริ่มพัฒนาระบบสารสนเทศในแต่ละฝ่าย ซึ่งอาจจะถูกพัฒนาไปเป็นโครงสร้างแบบผสมก็ได้


3.โครงสร้างแบบผสม (hybrid structure)
ทรัพยากรที่ใช้ในการประมวลผลอยู่ที่ส่วนกลาง ขณะเดียวกันก็มีอยู่ตามหน่วย
งานต่าง ๆ ด้วย จะพบในกรณีที่องค์กรนั้นพัฒนาระบบสารสนเทศ เสร็จหลายฝ่ายและเตรียมที่จะเป็น MIS ซึ่งโครงสร้างแบบนี้อาจจะถูกพัฒนาไปเป็นโครงสร้างแบบศูนย์รวมก็ได้ ดังภาพต่อไปนี้


2.4 ระบบสารสนเทศ (Information System)

การบริหารงานในองค์กรนั้น ทุกขั้นตอนจะต้องใช้ข้อมูลข่าวสารทั้งสิ้น นักวิเคราะห์ระบบควรศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่ต่าง ๆ ในองค์กร การจัดองค์กร โครงสร้างขอบองค์กร เพื่อศึกษาว่า แต่ละระบบต้องการข้อมูลข่าวสารอะไร รวมถึงเรื่องของการเคลื่อนไหวของข้อมูลด้วยว่าข้อมูลที่เกิดจากระบบย่อยหนึ่ง ๆ จะเป็นข้อมูลสำหรับระบบย่อยใดต่อไป

ปัจจุบันองค์กรธุรกิจได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านบริหารงาน เช่นการตัดสินใจแต่ละปัญหาจะใช้ข้อมูลที่ได้จากการพยากรณ์เหตุการณ์ล่วงหน้า หรือสารสนเทศต่าง ๆ ที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว ทำให้ตัดสินใจผิดพลาดน้อยมาก นอกจากนั้นยังใช้สารสนเทศต่าง ๆ มาช่วยในการวางแผนและการควบคุมงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้

- ความละเอียดแม่นยำหรือเที่ยงตรง
- ความกระทัดรัดของสารสนเทศ
- ความทันต่อการใช้งาน
- ความถูกต้อง
- ตรงกับความต้องการ
- คุณสมบัติเชิงประมาณ เช่น เปอร์เซ็นต์ความเชื่อมัน
- ความยอมรับได้
- การใช้ได้ง่าย
- ความไม่ลำเอียง
- ความชัดเจน

2.5 ชนิดของระบบสารสนเทศ

ระดับการบริหาร ระบบสารสารสนเทศ

ระดับสูง ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง
ระดับกลาง ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ระบบสนับสนุนเพื่อการตัดสินใจ
ระดับต้น ระบบการประมวลผลรายการ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
ระดับปฏิบัติการ ระบบการประมวลผลรายการ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ

1.ระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing systems :TPS)

การดำเนินงานขององค์กรหนึ่ง ๆ นั้น จะประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ในการปฏิบัติงานแต่ละกิจกรรมนั้น พบว่าต้องใช้ TPS เป็นพื้นฐานเสมอ ซึ่ง TPS เหล่านี้ได้มาจากข้อมูลที่ถูกส่งจากแผนกหนึ่งไปอีกแผนกหนึ่ง การประมวลผลแบบนี้ อาจจะถือได้ว่าเป็นกิจกรรมหลักขององค์กรในแต่ละวัน โดยเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์อย่างมีระบบตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ รวมกับข้อคิดบางอย่างเป็นข่าวสารที่นำไปใช้ได้ทันที สามารถเขียนเป็นวัฏจักรของการประมวลผลได้ดังนี้

วิธีการประมวลผลมี 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ ทำด้วยมือ (manual data processing)และการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (electronic data processing) ซึ่งอาจจะเป็นแบบ batch หรือแบบ on-line ก็ได้
ตัวอย่าง เช่น ระบบสารสนเทศของห้างสรรพสินค้า ที่รับชำระค่าสินค้า ออกใบเสร็จ ตัดสต็อกสินค้าอัตโนมัติ ออกรายงานการขายประจำวันต่อ พนักงานขายได้


2.ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems : OAS)

เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนงานธุรการในองค์กรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นั่นหมายถึงการประสานงานในด้านต่าง ๆ ของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งอาจจะต้องให้เทคโนโลยีทางด้านเครือข่ายเข้ามาช่วย และในปัจจุบันมี Sofeware หลายตัวที่ผนวกเข้ากับเทคโนโลยีแล้วสามารถช่วยให้การทำงานด้านี้รวดเร็วขึ้น เช่น การใช้งานโปรแกรม ไมโครซอฟต์ออปฟิดต์ เพื่อการจัดทำเอกสาร การใช้งาน e-mail voice-mail หรือระบบสำนักงานอัตโนมัติ ผ่านเว็บ ระบบ E-office


3.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (management information systems: MIS)

MIS นี้เปรียบเสมือนเป็นผู้ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจ (decision making) และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ซึ่งสารสนเทศที่นำมาใช้ใน MIS นี้ได้มาจาก TPS แต่อาจจะมีการใช้สารสนเทศหรือความรู้จากที่อื่นประกอบด้วย เช่น แนวโน้มทางด้านเศรษฐศาสตร์ ปริมาณและความต้องการในการกู้ยืมเงินของประชาชน เป็นต้น
การ


การตัดสินใจบางอย่างในองค์กรธุรกิจ อาจจะอยู่ในรูปแบบที่เกิดขึ้นเป็นประจำแบบปกติ (recur regularly) เช่น ต้องการข้อมูลแบบนี้ทุก ๆ อาทิตย์ ทุก ๆ เดือน หรือทุก ๆ ไตรมาส เป็นต้น ซึ่งกลุ่มของสารสนเทศที่ต้องากรนั้นมักจะเป็นกลุ่มที่แน่นอนตายตัว สามารถเขียนโครงสร้างของการตัดสินใจหรือรูปแบบรายงานไว้ล่วงหน้าและสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ เมื่อมีเหตุการณ์หรือเงื่อนไขดังกล่าวเกิดขึ้น ซึ่งใช้การวิเคราะห์ขั้นต้นเท่านั้น

4.สารสนเทศที่ใช้ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (decision support systems :DSS)

การตัดสินใจบางอย่างไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำแบบปกติ คืออาจจะมีบางปัญหาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เข้ามาอย่างกระทันหันและต้องการตัดสินใจ โดยบางครั้งอาจจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเกียว หรือไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย DSS จะเป็นเสมือนผู้ช่วยผู้บริหารที่จะต้องทำการตัดสินใจ เกี่ยวกับสถานะภาพเฉพาะบางอย่าง อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง (unstructured) หรือกึงโครงสร้าง (semi-structured) ซึ่งยากที่จะเตรียมรูปแบบของรายงานที่แน่นอนไว้ล่วงหน้า จะเห็นว่า DSS นี้เป็นระบบสารสนเทศที่ยืดหยุ่นมากกว่าระบบสารสนเทศชนิดอื่น ๆ ต้องใช้การวิเคราะห์ชั้นสูง


5.ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems :ESS)

เป็นระบบที่พยายามจัดทำสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารระดับสูง ซึ่งภาระส่วนใหญ่จะเป็นการวางแผนระยะยาวว่าองค์กรจะไปในทิศทางใด ซึ่งข้อมูลที่จะนำมาใช้นั้นส่วนหนึ่งมาจากระบบ TPS และที่ขาดไม่ได้คือ ข้อมูลจากภายนอกองค์กร เพื่อนำมาเปรียบเทียบให้เห็นว่าองค์กรของตนเองนั้นอยู่ในระดับใด และแนวโน้มเป็นอย่างไร ส่วนการประมวลผลนั้นมักจะใช้สภาพการจำลอง การพยากรณ์ เป็นต้น

dsg

บนเวทีดีทรอยต์ มอเตอร์โชว์ 2007 แฟนๆ ของมิตซูบิชินอกจากจะได้สัมผัสกับโฉมใหม่ของสายพันธุ์แลนเซอร์แล้ว ยังได้มีโอกาสอุ่นเครื่องกับผลผลิตต่อเนื่องที่ขึ้นชื่อในด้านความแรงอย่างเวอร์ชันอีโวลูชันอีกด้วย เมื่อมิตซูบิชินำเวอร์ชันต้นแบบที่มีความใกล้เคียงกับเวอร์ชันจำหน่ายจริงอย่างมากของอีโวลูชัน 10 หรือ X ออกมาเปิดตัวพร้อมๆ กัน ก่อนที่จะเริ่มทำตลาดในเดือนกันยายน 2007


ชื่อของแลนเซอร์ อีโวลูชันเป็นที่รู้จักในกลุ่มของคนที่ชื่นชอบความแรงบนตัวถังแบบ 4 ประตูมานานนับตั้งแต่ปี 1992 ซึ่งรถยนต์ในสายพันธุ์นี้ถือกำเนิดขึ้นมาโดยอิงอยู่กับกฎการแข่งขันแรลลี่โลก หรือ WRC ที่ระบุว่ารถยนต์ที่จะนำมาใช้เป็นตัวแข่งจะต้องมีการผลิตออกขายในตลาดตามจำนวนที่ FIAกำหนดเอาไว้ด้วย นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้แลนเซอร์ อีโวลูชันเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงรุ่นปัจจุบัน หรือรุ่นที่ 9 ถึงแม้ว่าในช่วงหลังมิตซูบิชิจะไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันแรลลี่โลก แต่ก็ยังผลิตเวอร์ชันนี้ออกขายตามเจนเนอเรชันของตลาด เพราะกลายเป็นธรรมเนียมไปแล้วว่านอกจากแลนเซอร์รุ่นธรรมดาแล้วยังจะต้องมีอีโวลูชันวางขายควบคู่กันด้วย


การพัฒนาสายพันธุ์ที่ 10 หรือ X ของอีโวลูชันอิงอยู่บนพื้นฐานของแลนเซอร์ใหม่ที่ใช้พื้นตัวถังรุ่นใหม่ ซึ่งทางมิตซูบิชินำมาใช้ครั้งแรกในการผลิตเอสยูวีรุ่นเอาท์แลนเดอร์ ขณะที่ทุกรายละเอียดของตัวรถได้รับการปรับปรุงจากเวอร์ชันต้นแบบคอนเซ็ปต์ เอ็กซ์ที่เปิดตัวในโตเกียว มอเตอร์โชว์ 2005 ให้มีความเหมาะสมสำหรับการใช้งานจริง และถึงแม้ว่าในการเปิดตัวครั้งใหม่นี้ มิตซูบิชิจะพ่วงคำว่าโปรโตไทป์-Prototype เข้ามาในชื่อรุ่นของอีโวลูชัน 10 แต่เกินกว่า 90% ของรายละเอียดที่ปรากฏอยู่บนตัวรถรุ่นนี้จะถูกนำมาใช้ในรุ่นจำหน่ายจริงในช่วงปลายปีอย่างแน่นอน



ประเด็นหลักของความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญไม่ใช่แค่การเปลี่ยนตัวถังใหม่มาใช้ร่วมกับแลนเซอร์ใหม่เท่านั้น แต่ยังยู่ที่จะเป็นครั้งแรกในรอบ 14 ปีที่ใต้ฝากระโปรงหน้าของแลนเซอร์ อีโวลูชันจะไม่ได้มีเครื่องยนต์ 4 สูบเรียงในรหัส 4G63 วางประจำการอยู่ แต่เปลี่ยนมาเป็นรหัสใหม่ 4B11 ซึ่งนอกจากจะมีเวอร์ชันธรรมดา 152 แรงม้าจับคู่กับเกียร์ซีวีทีสำหรับวางในแลนเซอร์แล้ว ก็ยังมีรุ่นเทอร์โบพ่วงอินเตอร์คูลเลอร์เพื่อนำมาใช้ในแลนเซอร์ อีโวลูชันอีกด้วย เครื่องยนต์รุ่นนี้เป็นของใหม่ทั้งบล็อก มีความจุ 1,998 ซีซีในพิกัด 2,000 ซีซี และแม้ว่าทางมิตซูบิชิจะไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดความแรงออกมา แต่ว่ากันว่าตัวเลขของแรงม้าที่ได้จะมีไม่ต่ำกว่า 300 แรงม้าอย่างแน่นอน และที่พิเศษกว่านั้นคือ ขุมพลัง 4B11 จะจับคู่กับเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะพร้อมระบบคลัตช์ไฟฟ้าแบบทวินคลัตช์คล้ายกับระบบ DSG ของโฟล์คสวาเกน ซึ่งจะเป็นครั้งแรก (อีกเช่นกัน) สำหรับแลนเซอร์ อีโวลูชัน พร้อมระบบขับเคลื่อน 4 ล้อเวลารุ่นใหม่ S-AWC Super-All Wheel Control ในส่วนของตัวรถ บนตัวถัง 4 ประตูมีความยาว 4,495 มิลลิเมตร กว้าง 1,810 มิลลิเมตร สูง 1,480 มิลลิเมตร และระยะฐานล้อ 2,650 มิลลิเมตรด้านหน้าใช้ระบบกันสะเทือนแบบแม็กเฟอร์สันสตรัท และด้านหลังแบบมัลติลิงก์ เสริมสมรรถนะในการหยุดด้วยดิสก์เบรกจากเบรมโบ และเพิ่มความลงตัวด้วยล้อแม็กวงโตขนาด 20 นิ้ว


นักขับเท้าหนักที่ชอบความแรงในระดับ 300 แรงม้าจากเครื่องยนต์เทอร์โบ บนตัวถัง 4 ประตูและทะยานอย่างมั่นใจด้วยระบบขับเคลื่อน 4 ล้อโดยที่มีกลิ่นอายของตัวแข่งแรลลี่โลกเจือออกมาให้สัมผัสแบบพอประมาณ ถึงตอนนี้เตรียมนับถอยหลังรอวันเปิดตัวได้เลย โดยคาดว่าจะเริ่มขายในญี่ปุ่นช่วงเดือนกันยายนนี้ ส่วนในสหรัฐอเมริกาจะเริ่มขายประมาณเดือนมีนาคม 2008

enterprise system

ระบบความร่วมมือองค์กร (Enterprise Collaboration Systems)
Posted July 14th, 2007 by webmaster
in Collaboration
การสื่อสารภายในองค์การเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งมีพลังขับเคลื่อนให้เกิดความร่วมมือกันทั่วทั้งองค์กร จนสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้ ดังนั้นกระบวนการสื่อสารจะต้องมีประสิทธิภาพ และมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยที่กระบวนการสื่อสารหมายถึงขั้นตอนต่าง ๆ ระหว่างแหล่งข้อมูลข่าวสาร กับผู้รับข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดการส่งผ่านหรือถ่ายทอด จนเกิดความเข้าใจความหมายของข้อมูลนั้น ๆ ดังนั้นถ้าหากช่องทางการสื่อสารมีการหักเห เบี่ยงเบน หรือมีสิ่งกีดขวางเกิดขึ้น จะทำให้ข้อมูลข่าวสารเกิดการเบี่ยง ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ และทำให้เกิดปัญหาต่อการสื่อสาร ระบบอินทราเน็ตสามารถช่วยลดช่องทางที่อาจทำให้ข้อมูลข่าวสารเบี่ยงเบน โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในแนวทางที่ทำให้สามารถทำงานร่วมกันได้

ระบบความร่วมมือองค์กรเป็นเครื่องมือ ที่ทำให้เกิดการสื่อสารทางความคิด การแบ่งปันทรัพยากร และการประสานความพยายามในการทำงาน เสมือนหนึ่งว่าทุกคนเป็นสมาชิกของกระบวนการทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยมีเป้าหมายในการสามารถทำงานร่วมกันง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพขึ้น และทำงานร่วมกันเป็นทีมที่ประกอบขึ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปด้วยความร่วมมืออันเป็นสิ่งสำคัญ โดยสมาชิกของทีมจะสามารถกระทำเสมือนเป็นสมาคมกึ่งอิสระ (Virtual Team) ที่สามารถสร้างกฎระเบียบของตนเองซึ่งประกอบด้วย วาระการทำงาน กฎระเบียบ ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของแต่ละคน เป็นกรุ๊ปแวร์ โดยเครือข่ายโทรคมนาคมอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถทำงานร่วมกันในทีมเสมือนโดยปราศจากเงื่อนไขในเรื่องของ เวลา สถานที่ และขอบเขตขององค์กร ดังรูปที่ 1 ซึ่งมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

มีลักษณะชั่วคราว มีการไหลเวียนของความร่วมมือกัน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
มีการเชื่อมต่อกันโดยการแบ่งปันความสนใจและความเชี่ยวชาญ
การติดต่อสื่อสารและความร่วมมือที่สนับสนุนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ส่วนประกอบของระบบความร่วมมือองค์กร (Enterprise Collaboration System Components) เน้นความร่วมมือในระบบสารสนเทศ ดังนั้นจึงต้องใช้ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล และเครือข่าย เพื่อสนับสนุนการติดต่อสื่อสาร การประสานงาน และความร่วมมือระหว่างสมาชิกของทีม โดยใช้อินทราเน็ตในการสร้างความร่วมมือโดยผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การประชุมทางวีดีทัศน์ กลุ่มสนทนา และฐานข้อมูลสื่อประสม โดยเป็นระบบความร่วมมือองค์กรเชื่อมต่อกับหลาย ๆ เครือข่าย ซึ่งได้เก็บข้อมูลโครงการ บริษัท และฐานข้อมูลอื่น ๆ นอกจากนี้แม่ข่ายอาจจะมีทรัพยากรซอฟต์แวร์ที่หลากหลาย เช่น เว็บบราวเซอร์ กรุ๊ปแวร์ และโปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อช่วยในเรื่องความร่วมมือของทีมจนกระทั่งโครงการสำเร็จ

crm

ยุคนี้ถ้าใครยังขืนประกอบธุรกิจแบบไม่สนใจความต้องการของลูกค้าอย่างใกล้ชิด คงไม่มีโอกาสอยู่รอด เพราะในโลกธุรกิจใหม่อย่างในปัจจุบัน ผู้ค้าสามารถ
สูญเสียลูกค้า ได้แค่ชั่วคลิ๊กเดียว ดังนั้นบริษัทต่างๆ จำต้องงัดกลยุทธ์และวางแผนการใหม่เกี่ยวกับการบริการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) พร้อมทั้งบริหารงบประมาณ อันแสน
จะจำกัดด้านสารสนเทศ ให้ได้ผลคุ้มที่สุด ถึงแม้บริษัทในเอเชียจะไม่ใช่ตลาดใหญ่สำหรับ CRM แต่กระแสความต้องการพัฒนาด้าน CRM และความเข้าใจที่เพิ่มขึ้น
เกี่ยวกับ "ลูกค้าคือศูนย์กลาง" อันมีผลกระทบต่อผลกำไร ของบริษัทได้เข้ามาอยู่ในความคิดของบริษัท ตั้งแต่กลุ่ม SME ไปจนถึงกลุ่มธุรกิจข้ามชาติ

กระนั้นก็ตามความแน่ใจในตัว CRM ก็ยังเป็นไปในแนวลบ ยิ่งกว่านั้น ยังมีความคลางแคลงใจของตลาดเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่จะได้จากตัว CRM บวกกับรายงาน
ที่ว่ากว่า 50% ของการนำ CRM มาใช้ได้ไม่ถึงจุดประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ อีกกว่า 60% ล้มเหลวในการให้บริการแท้จริงแก่ลูกค้า เพราะว่าไม่สามารถจะโยงเครือข่ายให้ใช้
กันได้ เป็นเหตุผลหนึ่งในการตัดสินใจเลือกใช้บริการ หรือเลิกใช้บริการ บทเรียนจากความล้มเหลวเหล่า นี้เป็นสิ่งที่บริษัทที่ต้องการรักษาลูกค้าเก่า และเพิ่มจำนวนลูกค้า
ใหม่ ควรเรียนรู้เพื่อไปพัฒนากลยุทธ์ CRM ของตน ผมขอเสนอข้อคิด 7 ประการนี้ เพื่อเป็นแนวทาง สำหรับผลสำเร็จที่รวดเร็ว และเป็นจริงของ CRM



1. หากลยุทธ์ CRM ที่เข้ากันได้กับธุรกิจของคุณ
บริษัทหลายแห่งมีระบบ CRM ทั้งที่ไม่เข้าใจว่า CRM จะมีผลกระทบกับลูกค้า และธุรกิจโดยรวมเช่นไรบ้าง ทางที่ดี บริษัทต้องเข้าใจเสียก่อนว่า ความสำเร็จของ
CRM ไม่ใช่แค่ขึ้นกับ ฮาร์ทแวร์ และ ซอฟท์แวร์ แต่ขึ้นกับวัฒนธรรมองค์กรที่ยอมรับว่า ความพึงพอใจของลูกค้าต่อบริการเป็นสิ่งสำคัญเสียก่อน จากนั้นจึงค่อยนำ
CRM เข้าไปในโครงสร้างองค์กรและแผนงาน แบบที่ว่า เขามี เราต้องมี เลิกคิดได้ครับ

2. ต้องมองภาพใหญ่ ใช้อินเตอร์เนต ทั่วองค์กร
ปัจจุบันหลายๆบริษัทใช้ระบบ CRM ประเภทที่แยกการทำงานเป็นส่วน ๆ ออกจากกันเพราะมองว่า เริ่มต้นไม่แพงมาก โดยลืมมองภาพรวมทั้งองค์ว่า ในอนาคต
มันจะบูรณาการกันได้อย่างไร ค่าใช้จ่ายจะบานปลายขนาดไหนถ้ายังนึกไม่ออก ดูการสร้างถนนของ กทม. ในสมัยก่อน การสร้างถนน การขุดท่อ การร้อยสายไฟ
การร้อยสายโทรศัพท์ ต่างคนต่างทำ โดยยึดแนวทาง มีเงินแค่ไหนก็ทำไปแค่นั้น ผลสุดท้ายก็คือ เสียหายกันทั้งระบบ ทั้งขุดทั้งกลบ ขุดแล้วก็กลบอีก สร้างความชอกช้ำ
ให้กับ ประชาชนผู้ใช้บริการของรัฐตลอดมา ซึ่งนอกจากได้ผลการทำงานที่ไม่สอดคล้องกันแล้ว ยังมีคุณภาพต่ำอีกด้วย

อะไรคือความลับสู่ความสำเร็จในการวางระบบ CRM แนวคิดแบบ Internet Business Flows หรือ การใช้ระบบ CRM ออนไลน์ โซลูชั่นอย่างสมบูรณ์แบบ
ที่สามารถกระจาย การใช้งานได้ทั่วทั้งองค์กร ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการทำงาน คือคำตอบ เพราะองค์ที่ใช้แนวคิดดังกล่าว จะสามารถก้าวสู่ขั้นตอนการวางระบบ
CRM ได้อย่างรวดเร็ว และได้รับผลประโยชน์ทางธุรกิจอย่างแท้จริงในระยะยาว

3. ตอบแทนจากการลงทุนคือกุญแจสู่ความสำเร็จผล
หนังสือ Information Masters ของ จอห์น แม็คคีน ได้จับประเด็นใหญ่ไว้ว่า "ถึงแม้ว่าจะฟังดูไร้สาระเพียงไรก็ตาม แต่ว่าบริษัทหลายแห่ง ก็วัดผลกำไรของตน
ด้วยการบริการลูกค้าสัมพันธ์" สิ่งแรกที่ทางบริษัทควรจะถามตัวแทนจำหน่ายก็คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนจะเป็นเท่าไร และบริษัทของเราจะสามารถทำเงินได้มากแค่
ไหน หรืออย่างน้อยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เท่าไร ผู้ขาย ควรจะมีวิธีวัดและประเมินผลการลงทุนได้ ไม่ว่าจะเป็นโดยการเพิ่มรายได้หรือการตัดรายจ่าย

4. ผสมผสาน CRM กับส่วนอื่นของบริษัท
อย่าคิดไปว่า CRM อยู่ในความรับผิดชอบของผู้จัดการด้าน IT ทางบริษัทควรจะรวม CRM เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการทางธุรกิจโดยรวม ขยายการดูแล
และความเข้าใจลูกค้า ให้ไปไกลกว่าแค่ฝ่ายการตลาด ไม่ว่าจะเป็น เรื่องระบบซัพพลายเชนสำหรับ กระบวนการผลิตชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบ รวมทั้งการบริการลูกค้าเพื่อสร้าง
โอกาสด้าน การเสนอขายสินค้าและบริการในรูปแบบอื่น ๆ



5. เอา CRM เข้าไปอยู่ในแผนการประชุมของ CIO
ต้องผลักดันให้ CIO สามารถมีมุมมองในเชิงกลยุทธ์ เพิ่มมากขึ้น โดยทั่วไป CIO ส่วนใหญ่พยายามที่จะลดงบประมาณทางด้านระบบ หรือ อุปกรณ์ที่สนับสนุนงานที่
ไม่ใช่กลยุทธ์ ( Non-strategic) งานที่เป็นงานประจำ ก็จะนำ เทคโนโลยีเข้าไปแทน CIO ยุคใหม่ควรทำความเข้าใจว่า CRM เป็นทางหนึ่งที่สามารถช่วยลดต้นทุน
เพิ่มรายได้ ขยายส่วนแบ่งการตลาดและทำผลกำไรเพิ่มมากขึ้น

6. Think suite เลือกเป็นชุดดีกว่า
การใช้แอพพลิเคชั่นแบบยกชุด สามารถทำให้ทางบริษัทลดค่าใช้จ่าย ในด้านการประสานระบบต่างๆ ด้านการอัพเกรดระบบทั้งก่อน และหลังการซื้อ การที่มีผู้รับผิด
ชอบเพียงเจ้าเดียว จะทำให้ประหยัดเวลาและความยุ่งยากในการ ติดตั้ง และพัฒนาระบบ ตัวอย่างความสำเร็จของ International Engineering (IEC) ในการติดตั้ง
ระบบ CRM โดยใช้คอนเซ็ปต์ดังกล่าว สามารถทำให้เป็นผลสำเร็จ ภายใน 90 วันเท่านั้นหลังจากสั่งซื้อระบบ แทนที่จะต้องมาเสี่ยงลองผิดลองถูก ทำให้ IEC ประหยัด
เวลาและค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก

7. ทำอะไรที่ไม่ยุ่งยาก
การติดตั้งระบบ CRM ไม่ควรจะเป็นสิ่งที่ยุ่งยาก ในขณะที่เศรษฐกิจคืบคลานไปได้อย่างช้าๆ บริษัทต้องการแอพพลิเคชั่นที่ง่ายต่อการใช้ รวดเร็วในการติดตั้ง
และได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับการลงทุน โปรแกรมยกชุด ประเภทFast forward solutions มีราคาที่ประหยัด และยังเป็นโปรแกรมที่ใช้เป็นโปรแกรมหลักได้
(Core functionality) ทั้งคอลเซ็นเตอร์ ฝ่ายบริการลูกค้า ช่วยให้ฝ่ายขายดูแลลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิผล

ระบบ supply chain

Supply Chain Operational Excellence เป็นยุทธวิธีทางการบริหารเพื่อสร้างประสิทธิภาพสูงสุดในส่วนงานที่ควรดำเนินการ เพื่อให้ผู้ผลิตชิงความได้เปรียบทางธุรกิจโดยอาศัยเครื่องมือทาง IT
ในการแข่งขันปัจจุบัน ลูกค้าต้องการสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงและราคาถูก ประกอบกับระบบขนส่งและสื่อสารที่ดีขึ้น ทำให้การบริหารงานเพื่อให้ได้เปรียบคู่แข่งมีความยากยิ่งขึ้น ปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการแข่งขันคือ บริษัทต้องรู้สถานะภาพของตัวเองในทันทีหรือที่เรียกว่า REAL TIME และมีการตอบสนองความต้องการอย่างรวดเร็ว
การนำเอาระบบ Supply chain มาใช้ มีความซับซ้อนจะประสพความสำเร็จหรือไม่ถือเป็นความท้าทาย ดังนั้นการวัดผลที่สม่ำเสมอในแต่ละขั้นตอนเป็นเรื่องสำคัญซึ่งเราสามารถทำได้ 2 กรณี คือ
1 ) การวัดประสิทธิภาพโดยรวม
2 ) การวัดผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า
ซึ่งคาดหวังระบบที่มีความเชื่อมต่อกันแนบสนิทสามารถตามงานได้ทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ
โดยปกติแต่ละองค์กรมีระบบการควบคุมการดำเนินงานของแต่ละส่วนอยู่แล้ว แต่การดำเนินงานนั้นมักจะไม่ได้วัดผลที่เกิดขึ้นต่อองค์กรโดยรวม และแน่นอนการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงภายนอกมักจะถูกละเลย ดังนั้น Implement Supply Chain ต้องมองภาพและประสิทธิภาพโดยรวมมาก่อนจึงแตกออกมาเป็นส่วนย่อย
ปกติการตอบสนองต่อปัจจัยภายนอก มักเป็นการตอบสนองของทั้งองค์กร เช่น "เรามีออร์เดอร์ 3 ล้านชิ้น ลูกค้าต้องการให้ส่งมอบในอีก 2 อาทิตย์ข้างหน้า เราสามารถทำได้หรือไม่ และเราต้องตอบลูกค้าภายในวันนี้หรือ อีก 2 ชม. ชข้างหน้า" การที่จะตอบคำถามดังกล่าวได้ ระบบ Supply Chain ต้องมีประสิทธิภาพและประสานงานกันทุกหน่วยงานย่อย
ดังนั้นการวัดผลของส่วนงานย่อยต้องมองถึงประสิทธิภาพที่จะเกิดขึ้นโดยรวม เช่น ฝ่ายขายต้องสามารถส่งผ่านออร์เดอร์ และวันที่ต้องการส่งมอบให้ฝ่ายผลิตทันที ฝ่ายผลิตต้องทำการเช็ค Capacity ของโรงงานเปรียบเทียบกับงานที่มีอยู่เดิม ฝ่ายวิศวกรรมต้องมีข้อมูลการผลิตที่ถูกต้อง เมื่อผ่านแล้วจึงส่งข้อมูลให้ฝ่ายจัดหาเพื่อทำการหาวัตถุดิบเข้ามา ยังไม่รวมฝ่ายจัดส่งอีก ทุกฝ่ายต้องตอบว่า Yes เราจึงจะตอบลูกค้าได้ จะเห็นว่าการทำงานหนักของทุกฝ่ายเพียงเพื่อจะตอบคำถามให้ลูกค้าเพียงประโยคเดียว ซึ่งแน่นอนในองค์กรธุรกิจยังมีคำถามทำนองนี้อีกมากมาย
การที่ระบบ Supply Chain จะทำงานได้อย่างมีปีะสิทธิภาพต้องมีระบบ IT ที่มีประสิทธิภาพ และเชื่อถือได้ ระบบ Supply Chain ซับซ้อนเกินกว่าที่จะใช้ Spread Sheet โทรศัพท์ หรือ e-mail ธรรมดา ระบบที่มีการเชื่อมต่อกันแนบสนิทจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด
การติดตั้งระบบ แบ่งออกเป็นส่วนๆ คือการวางแผน การลงมือปฏิบัติ การวัดผล และการปรับปรุง Operational Excellence คือการทำในสิ่งที่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ "ทำในสิ่งที่ถูกต้อง" เป็นสิ่งที่ต้องการ แต่ "สิ่งที่ถูกต้อง" จะเปลี่ยนไปตามการปฏิบัติของคู่แข่ง "สิ่งที่ถูกต้อง" วันนี้อาจจะไม่ใช่ "สิ่งที่ถูกต้อง" ของวันพรุ่งนี้ ดังนั้นการเข้าใจตนเองว่าตอนนี้ยืนอยู่จุดไหนและวางแผนจะไปทางไหน การกำหนดจุดวัดผลทั้งในระดับองค์การและระดับปฏิบัติงาน เป็นสิ่งจำเป็นในช่วงวางแผนปกติการลงมือปฏิบัติในระบบจะเริ่มจาก การรับออร์เดอร์จากลูกค้า ส่งต่อให้ฝ่ายผลิตและฝ่ายจัดหาจาก Supplier การกำหนด ขั้นตอน ผู้ปฏิบัติในแต่ละขั้นตอน ช่วงเวลาที่ปฏิบัติ และความถี่ในการกระทำจะกระทำในช่วงนี้
การวัดผล ทำโดยนำเอาจุดวัดผลที่กำหนดในช่วงแผนมาเปรียบเทียบกับผลจากการปฏิบัติงาน จากนั้นการปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงระบบงานที่กล่าวข้างต้นจะดำเนินต่อไปในระบบ Supply Chain ที่ก้าวหน้ามากๆ KPI (Key Performance Indicator) จะถูกกำหนดในช่วงวางแผนเพื่อดูว่าอะไรมีผลต่อลูกค้ามาก
จากนั้นจะถูกบันทึกเข้าระบบ computer การวัดผลและเปรียบเทียบกับ KPI สามารถทำได้ On-line โดยอาศัย Tool บางตัวมาช่วยเราเรียกว่า OLAP(On-line Analytical Processing) ทำให้การบริหาร Supply Chain ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอีก Technique หนึ่งที่ถูกนำมาใช้เรียกว่า Collaboration เนื่องจากขั้นตอนการดำเนินงานอาจมีหลายทางเลือก ดังนั้นเราจะทำการทดลองการทำงานก่อนในช่วงวางแผน โดยวัด KPI จากทุกทางเลือกเปรียบเทียบดูว่าทางใดให้ประโยชน์กับองค์กรสูงสุด